วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

สรุปวงจรหนี้ระยะยาว

สรุปวงจรหนี้ระยะยาวแบบที่ผมเข้าใจ

  เกริ่น วงจรหนี้ระยะยาวเท่าที่อ่านในหนังสือของเรย์เดริโอมาผมแถบจะไม่เข้าใจอะไรเลย เข้าใจแต่ว่าหนี้มากกว่ารายได้!! 5555+   ต้องขอบคุณท่านเรย์เดริโออีกครั้งที่ทำการ์ตูน^/\^ "How The Economic Machine Works "ทั้งเก่งทั้งแชร์ความรู้ .......ผมจะสรุปเท่าที่ผมเข้าใจดังนี้
ภาพรวมทั้งหมดราวๆ 75-100ปี
1.ต้องบอกก่อนว่าในวงจรหนี้ระยะยาวก็จะประกอบไปด้วย วงจรหนี้ระยะสั้นหลายๆรอบต่อๆกัน ซึ่งส่วนนี้เราจะได้ยินจากข่าวเศรษฐกิจทั่วๆไปรายวัน รายสัปดาห์ทั้วๆไป เช่นงบประมาณรัฐบาลขาดดุล!  ธนาคารกลางปรับลดดอกเบี้ย!  เศรษฐกิจภาคการส่งออกลดลง บลาๆๆๆ ข่าวพวกนี้คือวงจรหนี้ระยะสั้นหากเราติดตามมากไป ก็จะมองไม่เห็นภาพใหญ่ และไม่เข้าในเศรษฐกิจโดยรวมได้เลย

2.รอบแรกของวงจรหนี้ระยะยาว(ขาขึ้น)  ก็จะเกิดวงจรหนี้ระยะสั้นหลายๆรอบโดยแต่ระรอบก็จะมีลักษณะเหมือนๆกันคือ  ผู้ผลิตสินค้ามาขาย<คนซื้อจ่ายเงินซื้อสินค้า <ผู้ผลิตมีรายได้มากขึ้นกู้เงินเพิ่ม <ผู้ผลิตซื้อของแพงขึ้น <ขายของแพงขึ้น<รายได้มากขึ้น <กู้เงินเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วงนี้คนรู้สึกวาตัวเองรวยก็จะกู้มากขึ้น ตราบใดที่รายได้ยังมากกว่าหนี้ที่กู้ มันก็ยังควบคุมได้อยู่  ก็จะวนๆไปแบบนี้ จนทำให้ของในตลาดทุกอย่างแพงขึ้นจนเกิดเป็นเงินเฟ้ออออ
ขายของได้มากขึ้น รายได้ก็มากขึ้น ราคาของก็แพงขึ้น! คนรู้สึกรวยขึ้น =D


3.เราเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่าหากเงินเฟ้อมากๆ ธนาคารกลางก็จะออกมาปรับดอกเบี้ยให้มากขึ้นเพื่อให้คนกู้น้อยลง แล้วเศรษฐกิจก็จะกลับมาสมดุลอีกครั้ง แต่จุดเปลี่ยนก็คือ เมื่อรายได้ของคนๆนึง-เป็นรายจ่ายอีกคนนึงเสมอ และเมื่อคนๆนึงมีรายได้ที่ลดลงเขาก็จะจ่ายลดลงด้วย  จึงทำให้การขายของสินค้าลดลงเรื่อยๆ  คนที่กู้เงินเยอะๆก็จะเริ่มเอาทรัพย์สินมาขาย (บ้าน หุ้น ) แต่ไม่ใช่คนเดียวซิครับที่ได้รับผลกระทบ ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากการที่ต้องชำระหนี้ก็มีมากขึ้นคนก็เอาทรัพย์สินออกมาขายขึ้นเรื่อยๆและมากขึ้นๆ  ทำให้ราคาหุ้น-บ้าน ลดลงอย่างมากเพราะ คนต้องการขายทรัพย์สินมีเยอะกว่าคนที่จะรับซื้อ

4.เกิดสภาวะ Deleveracing คือ คนเริ่มรัดเข็มขัดลดรายจ่าย  เครดิตหายไปรายจ่ายหายไป ธนาคารถูกบีบ ภาวะสังคมตึงเครียดขึ้น  หากเป็นในช่วงวงจรหนี้ระยะสั้น ธนาคารกลางก็จะมาปรับลดดอกเบี้ย แต่นี้ปรับลดไม่ได้แล้วเพราะ ดอกเบี้ยเข้าใกล้ 0%  สิ่งที่ทำได้คือ 1.ลดรายจ่าย  2.เริ่มจ่ายหนี้คืนปรับโครงสร้าง 3.เก็บภาษีคนรวย  4.ธนาคารกลางพิมพ์เงิน

5.เมื่อไม่สามารถกู้หนี้ใหม่ ก็จะพอมีรายได้จ่ายหนี้เก่า หนี้ก็จะค่อยๆลดลง ธนาคารก็จะสามารถพิมพ์เงินเพื่อมาซื้อทรัพย์สินทางการเงินได้  เมื่อคนที่ขายทรัพย์สินมีเงินสดเขามาก็เข้าไปซื้อ บอนด์รัฐบาลก็มีรายได้เข้ามา เพื่อทำตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเช่น จ้างงานมากขึ้น ซื้อสินค้าและบริการอื่นๆ
เมื่อคนมีเงินมากขึ้น หนี้โดยรวมก็จะลดลงเรื่อยๆ   ช่วงนี้เป็นช่วงที่ละเอียดอ่อนมากๆต้องทำสมดุลให้ได้ระหว่าง การพิมพ์เงินกับการ ลดลายจ่าย เก็บภาษีเพิ่ม ช่วงนี้สังคมเริ่มมีการประท้วงตรึงเครียด รายได้น้อย และการเติมโตเศรษฐกิจช้า อื่นๆ



6.Deleveracing ที่สวยงาม ^___^  เมื่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นทรัพย์สินที่มากขึ้นถูกปรับสมดุล มันก็จะกลับมาสู้โหมด ที่คนทำงานเพื่อใช้หนี้แม้ว่า Deleveracingจะเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากแต่มันก็สามารถดีได้หากจัดการที่ดี  "เมื่อหนี้ลดลงเมื่อเทียบกับรายได้ จากการเติบโตทางบวกทางเศรษฐกิจที่แท้จริง "หลังจาก Delevercing ผ่านพ้นไป ก็จะกลับมาที่รูปแบบเดิมคือจนเศรษฐกิจเริ่มเติบโตใหม่อาจต้องใช้เวลานาน
 ผู้ผลิตสินค้ามาขาย<คนซื้อจ่ายเงินซื้อสินค้า <ผู้ผลิตมีรายได้มากขึ้นกู้เงินเพิ่ม <ผู้ผลิตซื้อของแพงขึ้น <ขายของแพงขึ้น<รายได้มากขึ้น <กู้เงินเพิ่มขึ้น



7.หลายคนกังวลว่าธนาคารกลางพิมพ์เงินมากไปหรือเปล่าเงินท่วมโลกไหม??  จริงๆแล้วไม่เลยเพราะธนาคารกลางพิมพ์เงินจะอ้างอิงถึงภาระหนี้เพื่อให้มีเงินเข้ามาในระบบเครดิตก็จะเริ่มหายไป  ลองคิดดูหากทุกคน ทุกบริษัทสามารถ ชำระหนี้ได้ตามสัญญาหนี้โดยรวมที่มีก็จะค่อยๆลดลง ยกตัวอย่าง เป็นหนี้ 2%แต่รายได้ 3% สักวันต้องจ่ายหมด ^_^

สุดท้ายเป็นคำแนะนำเล็กๆน้อยๆจากท่านเรย์เดริโอ
1.อย่าเป็นหนี้มากกว่ารายได้  2.อย่าให้รายได้สูงกว่าการผลิต
3.ทำทุกอย่างเพื่อเพิ่มผลผลิตคุณ(โดยไม่กู้เงินมั้ง...)
เพราะระยะยาวคือสิ่งสำคัญที่สุด  Thank you RAY DALIO  ^/\^






1 ความคิดเห็น: